วันพุธที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

อุทยานแห่งชาติตาดโตน จ.ชัยภูมิ



ในปี พ.ศ. 2513 ป่าไม้จังหวัดชัยภูมิ ได้พิจารณาเห็นว่า น้ำตกตาดโตน ซึ่งอยู่ในป่าสงวนแห่งชาติภูแลนคา ท้องที่ตำบลนาฝาย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ เป็นน้ำตกที่สวยงามแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วยลานหินกว้างและ มีน้ำไหลตลอดปี เหมาะสมที่จะจัดเป็นวนอุทยานขึ้น จึงได้เสนอให้กรมป่าไม้พิจารณาดำเนินการ ซึ่งกรมป่าไม้มีมติเห็นชอบตามที่จังหวัดเสนอให้จัดตั้ง " วนอุทยานน้ำตกตาดโตน " ขึ้น "

น้ำตกตาดโตน " จุดเด่นที่สำคัญที่สุดของอุทยานแห่งชาติตาดโตน เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดชัยภูมิ ห่างจากตัวจังหวัดชัยภูมิไปทางทิศเหนือ 21 กิโลเมตร มีทางลาดยางตลอดถึงน้ำตก ด้านบนน้ำตกมีสภาพเป็นลานหินกว้างประมาณ 50 เมตร และยาวไปตามลำน้ำ ประมาณ 300 เมตร ทำให้น้ำไหลลาดมาตามลานหิน มีแอ่งน้ำที่สามารถเล่นน้ำได้เป็นจุดๆ และไหลลงมาตกที่หน้าผาเป็นน้ำตกตาดโตนที่มีความสูงประมาณ 6 เมตร และกว้าง 50 เมตร ในฤดูฝน ( ประมาณเดือนมิถุนายน - กันยายน ) น้ำตกจะมีน้ำเต็มหน้าผา นักท่องเที่ยวจะนิยมไปลงเล่นน้ำ เพราะน้ำไม่ลึกและปลอดภัย


ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น


มารู้จักจังหวัดชัยภูมิ


จังหวัดชัยภูมิ ตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตรงบริเวณใจกลางของประเทศ บริเวณเส้นรุ้งที่ 15 องศาเหนือ เส้นแวงที่ 102 องศาตะวันออก อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 631 ฟุต ห่างจากกรุงเทพมหานครโดยทางรถยนต์ประมาณ 332 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 12,778.3 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 7,986,429 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 7.6 ของพื้นที่ทั้งหมดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และร้อยละ 2.5 ของพื้นที่ทั้งประเทศ มีพื้นที่ใหญ่เป็นลำดับที่ 3 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเป็นลำดับที่ 7 ของประเทศ





ตราประจำจังหวัด
เป็นรูปธงสามชาย ซึ่งเป็นธงนำกระบวนทัพในสมัยโบราณ
หมายถึง ธงแห่งชัยชนะสงคราม



ดอกไม้ประจำจังหวัด คือ ดอกกระเจียว


ต้นไม้ประจำจังหวัด คือ ต้นขี้เหล็ก



ดูแผนที่ขนาดใหญ่ขึ้น

ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย








-พ.ศ. 2530 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์? วิทยาเขตหาดใหญ่ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (Asian Institute of Technology หรือ AIT) ได้ติดตั้งระบบอินเตอร์เน็ตเพื่อใช้ในการศึกษา โดยเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-mail กับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย? โดยใช้สายโทรศัพท์ติดต่อรับส่งข้อมูลผ่านทางโมเด็มด้วยระบบ MSHnet และ UUCP ?โดยประเทศออสเตรเลียเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายในการโทรทางไกลระหว่างประเทศวันละ 4 ครั้ง
-พ.ศ. 2535 สำนักวิทยบริการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมมือกับ NECTEC ในการพัฒนาเครือข่าย ?ไทยสาร (Thaisarn : Thai Social/scientific, Academic and Research Network)?? เพื่อพัฒนาเครือข่ายอินเตอร์เน็ตของสถาบันอุดมศึกษาภายในประเทศจำนวน 6 หน่วยงานเข้าด้วยกัน ซึ่งได้แก่
1. ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์ (NECTEC)
2. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3. สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT)
4. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
5. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
6. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
-พ.ศ. 2536
เครือข่ายไทยสารขยายขอบเขตบริการเข้าเชื่อมต่อกับสถาบันการศึกษา? และหน่วยงานของรัฐเพิ่มเป็น 19 แห่ง โดยทาง NECTEC? ได้ทำการเช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทย เพื่อเพิ่มความสามารถในการรับส่งข้อมูล
-พ.ศ. 2537 ประเทศไทยมีเครือข่ายที่เชื่อมต่อกันทั้งสิ้น 35 เครือข่าย เป็นคอมพิวเตอร์รวมทั้งสิ้น 1,267 เครื่องที่เชื่อมต่อเข้ากับระบบอินเตอร์เน็ต ซึ่งจัดได้ว่าประเทศไทยมีเครือข่ายใหญ่เป็นอันดับ 6 ในย่านเอเซียแปซิฟิก รองจากออสเตรเลีย ญี่ปุ่น ไต้หวัน เกาหลี และนิวซีแลนด์
-ปัจจุบัน เครือข่ายอินเตอร์เน็ตมีการขยายตัวอย่างมากควบคู่ไปกับเครือข่ายไทยสาร และขยายตัวออกส่วนภูมิภาคแล้ว เครือข่ายของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตส่วนใหญ่จะให้บริการเชิงธุรกิจ ส่วนเครือข่ายไทยสารยังคงให้บริการอินเตอร์เน็ตแก่สถาบันการศึกษาและหน่วยงานของรัฐโดยไม่หวังผลกำไร

อินเตอร์เน็ตไร้สายผ่านมือถือแบบ GPRS




อินเตอร์เน็ตไร้สายผ่านมือถือแบบ GPRS
อินเตอร์เน็ตไร้สายผ่านมือถือด้วยระบบ GPRS ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ของการใช้งานอินเตอร์เน็ต เพราะว่า ในช่วงนี้ ผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือหลาย ๆ ค่าย ก็มีการทำโปรโมชั่นด้านราคา ออกมาค่อนข้างน่าใช้งานมาก โดยมีราคาถูกลงกว่าเดิมมาก และยิ่งถ้านับเรื่องความสะดวก สำหรับผู้ที่ต้องการ ใช้งานอินเตอร์เน็ตนอกสถานที่ นับได้ว่าเป็นอีกหนึ่งแนวทางที่น่าสนใจทีเดียว

รูปแบบต่าง ๆ ของการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตผ่านมือถือก่อน แบ่งวิธีการเชื่อมต่อออกเป็น 3 รูป แบบคือ

1. ผ่านสาย Datalink กรณีนี้ ส่วนมาก จะต้องมีสาย Datalink และ software เฉพาะของมือถือแต่ละรุ่น ซึ่งค่อนข้างจะแพง
2. ผ่าน IrDA หรืออินฟาเรด โดยวิธีนี้ จะเหมาะกับมือถือรุ่นเก่า ๆ ข้อเสียคือเวลาใช้งานจะต้องเอา irda มาจ่อให้ตรงกันตลอด
3. ผ่าน Bluetooth หรือระบบเชื่อมต่อไร้สาย วิธีนี้จะสะดวกมาก ไม่มีสาย แต่มือถือที่รองรับ bluetooth จะค่อนข้างแพง

ขั้นตอนหลักใหญ่ ๆ ในการเซ็ตค่าต่าง ๆ ให้เล่นอินเตอร์เน็ตผ่านมือถือ

1. เปิดการใช้งานระบบ GPRS ของมือถือก่อน และเซ็ตค่าสำหรับ GPRS ในเครื่องโทรศัพท์ให้เรียบร้อย
2. ลง Driver ของ USB Bluetooth และเปิดใช้งาน Service ต่าง ๆ โดยเฉพาะ Dial-Up Networking
3. ทำการจับคู่หรือ Pairing ระหว่างมือถือและ PC ให้ทั้งสองรู้จักกันได้
4. สร้าง Dial-Up Connection สำหรับใช้ต่ออินเตอร์เน็ต
5. เรียกใช้งานผ่าน Dial-Up Connection ได้เลย

วันพุธที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

internet ในชีวิตประจำวัน

















อินเทอร์เน็ต ( Internet) หมายถึง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ ที่มีการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายหลายๆ เครือข่ายทั่วโลก โดยใช้ภาษาที่ใช้สื่อสารกันระหว่างคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า โพรโทคอล (Protocol) ผู้ใช้เครือข่ายนี้สามารถสื่อสารถึงกันได้ในหลายๆ ทาง อาทิเช่น อีเมล เว็บบอร์ด และสามารถสืบค้นข้อมูลและข่าวสารต่างๆ

อินเทอร์เน็ตเกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1969 (พ.ศ. 2512) จากการเกิดเครือข่าย ARPANET (Advanced Research Projects Agency NETwork) ซึ่งเป็นเครือข่ายสำนักงานโครงการวิจัยชั้นสูงของกระทรวงกลาโหม ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีวัตถุประสงค์หลักของการสร้างเครือข่ายคือ เพื่อให้คอมพิวเตอร์สามารถเชื่อมต่อ และมีปฏิสัมพันธ์กันได้ เครือข่าย ARPANET ถือเป็นเครือข่ายเริ่มแรก ซึ่งต่อมาได้ถูกพัฒนาให้เป็นเครือข่าย อินเทอร์เน็ตในปัจจุบัน

การประยุกต์ใช้งานอินเทอร์เน็ต
- ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ อีเมล์ (e-Mail)
- สนทนา (Chat)
- อ่านหรือแสดงความคิดเห็นในเว็บบอร์ด
- การติดตามข่าวสาร
- การสืบค้นข้อมูล / การค้นหาข้อมูล
- การชม หรือซื้อสินค้าออนไลน์
- การดาวโหลด เกม เพลง ไฟล์ข้อมูล ฯลฯ


จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลก
ปัจจุบัน จำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกโดยประมาณ 1.463 พันล้านคน (ข้อมูล ณ เดือน มิถุนายน 2551) โดยเมื่อเปรียบเทียบในทวีปต่างๆ พบว่าทวีปที่มีผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือ ทวีปเอเชีย คิดเป็นร้อยละ 39.5 รองลงมาได้แก่ ทวีปยุโรป ร้อยละ 26.3 และอเมริกาเหนือ ร้อยละ 17.0 แต่หากจัดลำดับจำนวนผู้ใช้ตามประเทศ ประเทศที่มีประชากรผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมากที่สุดคือประเทศจีน คิดเป็นจำนวน 253 ล้านคน